เสียงเป็นหัวใจสำคัญในการประชุม ห้องประชุมที่ดีต้องมีคุณภาพของเสียงที่ดี ซึ่งจะได้จากการออกแบบระบบเสียงและอะคูสติกส์ของห้องที่ต้องได้มาตรฐาน ในการออกแบบห้องประชุมเพื่อให้เสียงมีประสิทธิภาพและมาตรฐานด้านความชัดเจนของเสียงพูด(Sound Transmission Index: STI) ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงปัจจัยประกอบหลายด้าน เช่น ป้องกันปัญหาเสียงก้อง เสียงรบกวน ระดับความดัง ฯล ในที่นี้จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเสียงก้อง ทั้งปัญหาและวิธีการแก้ไข
เสียงก้องคืออะไร
เสียงก้องคือ เสียงที่เดินทางกระทบวัตถุแต่ไม่ได้ถูกวัตถุซับเสียงไว้ทั้งหมด เสียงที่ไม่ได้ถูกซับจึงสะท้อนกลับไปยังแหล่งกำเนิดเสียง หรือกระทบไปยังส่วนต่างๆในบริเวณพื้นที่ห้อง โดยปัจจัยเกี่ยวข้องกับเสียงสะท้อนมีทั้งพื้นที่ทั้งรูปร่างลักษณะของพื้นที่และวัสดุภายในห้อง
ปัญหาจากเสียงก้องในห้องประชุม
ห้องประชุมที่มีเสียงก้องเกินไป จะส่งผลให้ผู้เข้าร่วมประชุมฟังเสียงประชุมไม่ชัดเจน เกิดความเครียด ความรำคาญ ไม่มีสมาธิในการประชุม ฯลฯ ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพของการประชุม จึงต้องแก้ไขปัญหาเสียงก้องไม่ให้เกินค่าที่มาตรฐานกำหนด
ทำความเข้าใจระบบอะคูสติกส์ก่อนแก้ไขปัญหาเสียงก้อง
อะคูสติกส์เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับด้านเสียง อาทิ เสียงรบกวน, เสียงก้องสะท้อน และการกระจายเสียง เป็นต้น โดยในการออกแบบ เพื่อให้ได้ค่าทางอะคูสติกส์ภายในห้องประชุมให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของเสียง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การควบคุมเสียงภายในห้องประชุมและการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก
สำหรับการแก้ไขปัญหาเสียงก้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับการควบคุมเสียงภายในห้องประชุม ซึ่งค่าทางอะคูสติกส์ที่มีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ ค่าระยะเวลาความก้องสะท้อน (Reverberation Time หรือค่า RT60)
ค่าระยะเวลาความก้องสะท้อน
ปรับแก้ไขผนังห้อง
สำหรับผนังห้องประชุมที่ส่งผลกระทบต่อการสะท้อนเสียงนั้น มีหลายประเภท โดยในการปรับแก้ควรแก้ไขไปตามสภาพของผนังห้องที่แตกต่างกันไปดังนี้
1.ผนังภายในที่เป็นระนาบยาว
วิธีการแก้ไขปัญหาเสียงก้องสำหรับห้องที่มีผนังภายในเป็นระนาบยาว สามารถปรับแก้ได้หลายวิธี อาทิ การปรับเล่นระดับของผนังเพื่อให้เสียงไม่สะท้อนทั้งหมด, การกรุผนังด้วยวัสดุซับเสียง และการใช้ผ้าม่านเพื่อให้ดูดซับเสียงบางส่วนไว้กับผ้าม่าน เป็นต้น
2.ผนังที่เป็นกระจก
ผนังกระจกจะทำให้ผู้เข้าประชุมมีมุมมองไปยังทัศนีภาพภายนอกอาคาร แต่มักมีผลกระทบต่อเสียงก้องตามมา มีวิธีการแก้ด้วยกันหลายวิธี อาทิ การติดตั้งกระจกให้เอียงทำมุมในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้เสียงสะท้อนเข้าสู่แผ่นซับเสียงด้านหนึ่ง, ใช้ม่านบังตาในลักษณะของคล้ายบานเกล็ด ซึ่งสามารถปรับองศาของการเปิด-ปิดได้ ช่วยลดการสะท้อนเสียงจากกระจกโดยตรงได้, ใช้ม่านเก็บเสียง ฯลฯ
ปรับขนาดของห้องลดเสียงก้อง
ในการออกแบบขนาดห้องเพื่อลดเสียงก้อง ควรหลีกเลี่ยงการออกแบบขนาดความกว้างต่อความยาวและความสูง ที่เป็นสัดส่วนทวีคูณ (Multiplied) เช่น ความสูงขนาด 10 ฟุต ความกว้างและความยาว ไม่ควรเกิน 10,20,30,40 ฟุต โดยสัดส่วนทวีคูณเป็นสัดส่วนห้องที่เสริมให้เสียงภายในห้องก้องมากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากต้องการลดเสียงก้องจึงควรหลีกเลี่ยงการออกแบบห้องประชุมที่มีสัดส่วนทวีคูณ
เลือกใช้งานวัสดุซับเสียง
ในการเลือกวัสดุซับเสียงสามารถเลือกจากค่า Sound Absorption Coefficient (SAC) ซึ่งเป็นค่าสัดส่วนของพลังงานเสียงที่ถูกซับไป ยกตัวอย่างเช่น วัสดุ A มีค่า SAC ที่ 0.80 หมายความว่า 80% ของเสียงจะถูกซับไว้ในวัสดุ ส่วนอีก 20% คือเสียงที่สะท้อนออกไป ทั้งนี้ค่า SAC ที่ได้จะแปรผันต่อค่าความถี่เสียงที่เดินทางไปตกกระทบในแต่ละวัสดุ
สรุป
เสียงก้องสามารถแก้ไขปัญหาด้วยการปรับพื้นที่ภายในห้องทั้งเปลี่ยนวัสดุและสัดส่วนภายในห้องเพื่อให้ตอบสนองต่อค่าอะคูสติกส์มากขึ้น รวมถึงพัฒนาระบบโสตทัศนูปกรณ์และการออกแบบภายใน เพื่อทำให้ห้องประชุมเป็นห้องประชุมที่สมบูรณ์แบบทั้งด้านสถาปัตยกรรมและศักยภาพในการดำเนินงาน
ระยะเวลาความก้องสะท้อน (Reverberation Time) คือเวลาในการสะท้อนกลับของต้นเสียง โดยเป็นวัดค่าของเวลาที่เสียงสะท้อนกลับ ซึ่งผลของการสะท้อนกลับหากสะท้อนน้อยเกินไปจะทำให้เสียงไม่มีชีวิตชีวา แต่หากมากเกินไปก็กลายเป็นเสียงรบกวน ดังนั้นจึงควรควบคุมค่า RT60 ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมกับพื้นที่
โดยค่า RT60 เป็นระยะเวลาที่ทำให้ระดับเสียงก้องเกิดขึ้นลดลง 60 dB มีหน่วยเป็นวินาที ซึ่งมีสมมุติฐานในการออกแบบดังนี้
- ระยะเวลาก้องสะท้อนควรมีเท่ากันทั้งห้อง ไม่ว่าแหล่งกำเนิดเสียงจะอยู่ที่ไหน
- ค่าความก้องสะท้อน ขึ้นอยู่กับปริมาตรของห้องและการดูดซับเสียงของวัสดุในห้อง
- ความชัดเจนของเสียงที่ขาดหาย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและค่าความก้องของเสียงนั้น
วิธีการแก้ไขปัญหาเสียงก้องผ่านการออกแบบ
ปรับฝ้าเพดาน
เพดานเป็นองค์ประกอบภายในห้องที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยลักษณะของเพดานส่งผลต่อการสะท้อนของเสียงภายในห้อง ซึ่งการปรับฝ้าเพดานให้ช่วยลดเสียงก้อง มีวิธีในการทำหลากหลายวิธี อาทิ ฝ้าเพดานแบบ Vertical Baffle ใต้เพดานหรือเหนือเพดาน, เพดานลักษณะ Confer หรือเปลี่ยนวัสดุเป็นประเภทดูดซับเสียง
ปรับพื้นห้อง
เสียงเดินทางกระทบพื้นห้องเช่นเดียวกับเพดาน แต่วิธีการแก้ไขจะแตกต่างจากฝ้าเพดาน สำหันบการปรับพื้นห้องมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนวัสดุปูพื้น โดยพื้นห้องควรใช้พรมเป็นวัสดุปูพื้นเพื่อป้องกันปัญหาเสียงสะท้อน เนื่องจากพรมมีคุณสมบัติดูดซับเสียงได้ดี ช่วยป้องกันเสียงสะท้อน นอกจากการดูดซับเสียงแล้ว พรมยังช่วยเรื่องการลดการกระแทก (Impact Noises) อีกด้วย
แหล่งที่มา: https://avl.co.th/